หากมีน้ำ มีปลาในสวน จะช่วยเพิ่มบรรยากาศความมีชีวิตชีวา และความสดชื่นได้เป็นอย่างดี ก่อนตัดสินใจสร้าง บ่อเลี้ยงปลา ควรคำนึงถึงเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญ ว่าสามารถแบ่งเวลามาดูแลทำความสะอาดได้มากหรือน้อยเพียงใด เพราะถึงแม้ บ่อปลาคาร์ป จะมีที่กรองน้ำ แต่ก็ต้องหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ปลาได้อยู่ในน้ำสะอาด มีความสวยงามที่สมบูรณ์แบบมองกี่ทีก็เพลินตา และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมตามมาภายหลัง ควรเลือกช่างที่มีความรู้ความชำนาญในการ สร้างบ่อปลาคาร์ป และเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และมีคุณภาพที่ตอบโจทย์ด้วย หรืออีกบทความแนะนำของทางเรา เคล็ดลับและวิธีการดูแลปลาคาร์ปให้มีสุขภาพดี
จึงมีขั้นตอนการเตรียมทำ บ่อปลาคาร์ป พร้อมเทคนิคการดูแลปลาและบ่อปลาเบื้องต้นมาฝาก
1.) ตำแหน่ง ขนาดและความลึกของบ่อ
บ่อน้ำหรือบ่อปลาควรตั้งอยู่ในตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึงในปริมาณที่พอดี หรือประมาณครึ่งวันเช้า เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคบางชนิด แต่ถ้าตำแหน่งของบ่อน้ำตั้งอยู่กลางแจ้ง โดนแดดจัดตลอดวัน ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดตะไคร่เขียวได้ง่าย จึงอาจปลูกต้นไม้ใหญ่บริเวณบ่อที่แสงแดดส่องเพิ่มขึ้น โดยเลือกพรรณไม้ชนิดที่มีใบใหญ่ ไม่ผลัดใบ เพื่อให้สามารถดูแลทำความสะอาดบ่อได้ง่าย ขนาดของบ่อเลี้ยงปลาสวยงาม ควรออกแบบตามชนิดของปลา ที่ต้องการเลี้ยง เพราะปลาแต่ละสายพันธุ์ ต้องการพื้นที่ไม่เท่ากัน เช่น บ่อปลาคาร์ป เหมาะสำหรับบ่อขนาด 80×120 เซนติเมตรขึ้นไป ปลาทอง เหมาะกับบ่อขนาด 60×80 ซม. เป็นต้น โดยขนาดบ่อ ยังต้องออกแบบให้เหมาะสมกับจำนวนปลาด้วยเช่นกัน ความลึก เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ สำหรับการเลี้ยงปลาในบ่อปูนซีเมนต์ เช่นเดียวกันกับขนาดของบ่อความลึก ที่ควรสร้างนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของปลา
2.) ติดตั้งระบบกรองน้ำให้เหมาะกับขนาดบ่อ
เนื่องจากปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาคาร์ฟนั้น ชอบน้ำสะอาดเป็นพิเศษ จึงควรวางระบบหมุนเวียนน้ำ หรือระบบกรองน้ำให้ดี โดยควรสร้างบ่อกรองขนาดประมาณหนึ่งในสามของบ่อ และบ่อกรอง ควรมีความลึกมากกว่าบ่อ เพื่อให้น้ำไหลไปยังบ่อกรองได้สะดวกมากขึ้น ช่วยให้น้ำภายในบ่อหมุนเวียนได้ดี ยับยั้งการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำ และช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันสัตว์ไม่พึงประสงค์ เช่น กบ คางคก มาวางไข่ในบ่อได้อีกด้วย
3.) ปั๊มน้ำต้องมีขนาดเพียงพอต่อขนาดบ่อปลา
สำหรับการสร้างระบบกรองน้ำ คนส่วนใหญ่นิยมสร้างบ่อกรองแยกออกจากบ่อปูนเลี้ยงปลา เช่น ติดตั้งไว้ใต้ทางเดินในสวน หรือหากบ่อปลาอยู่หน้าบ้าน อาจแยกบ่อกรองไว้ที่หลังบ้าน โดยควรเลือกใช้ปั๊มน้ำ แบบปั๊มจุ่ม (Submersible Pump) เป็นปั๊มน้ำที่ทำให้เกิดระบบหมุนเวียน ระหว่างบ่อปลา กับบ่อกรอง ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำได้เป็นอย่างดี และช่วยกรองน้ำปริมาณมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว การเลือกขนาดกำลังของปั๊มให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำในบ่อเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา เพราะ หากใช้ปั๊มน้ำขนาดเล็กเกินไปกำลังส่งไม่เพียงพอ ใช้ไปไม่นานก็อาจชำรุดเสียหายได้ ต้องเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ แต่หากใช้ปั๊มตัวใหญ่ที่มีกำลังสูงในบ่อขนาดเล็ก ซึ่งปริมาณน้ำน้อย จะทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ซึ่งโดยปัจจัยที่นำมาพิจารณา ได้แก่ อัตรการไหล (Capacity – Q) ซึ่งจะบอกปริมาณน้ำต่อหน่วยเวลา แรงดันหรือแรงส่งน้ำ (Head – H) จะบอกความสูงเป็นเมตร ทั้ง Q และ H จะเป็นตัวกำหนดกำลังของเครื่องปั๊มน้ำซึ่งอาจจะบอกเป็นวัตต์ (W) กิโลวัตต์ (KW) หรือแรงม้า (HP)
4.) บ่อเลี้ยงปลา ควรทำความสะอาดง่าย
สำหรับการเลี้ยงปลาในบ่อปูนซีเมนต์ ควรสร้างบ่อที่ดูแลได้ง่าย เพราะ บ่อเลี้ยงปลา สวยงามที่สร้างเสร็จใหม่ ๆ ควรทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อสร้างสมดุลในบ่อให้เหมาะกับการอยู่อาศัย หมั่นเก็บใบไม้ และเศษขยะออกจากบ่อ เพื่อป้องกันความสกปรก ตะไคร่น้ำ และเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อตัวปลา
สำหรับคนที่กำลังวางแผนเลี้ยงปลาคราฟนอกจากการเตรียมตัวก่อนเลี้ยงปลาคราฟแล้ว อย่าลืมดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมและบ่อปลาอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ปลาคราฟมีสุขภาพที่ดีและอายุยืนอยู่คู่บ้านอย่างยาวนาน
สินค้าขายดี
ระบบกรอง สร้างบ่อปลาคาร์ป
ด้านบนบ่อกรอง
- สะดือบ่อ นำน้ำเข้าบ่อกรอง
- สกิมเมอร์ สำหรับดูดเศษอาหารเก็บฟองหน้าน้ำบ่อปลาและตู้ปลา
- เศษปะการัง
- แผ่นกรอง
- ท่อน้ำทิ้ง
- ท่อน้ำกลับบ่อปลา
- หัวพ่นอากาศ
ด้านข้างบ่อกรอง
A. สกิมเมอร์ สำหรับดูดเศษอาหารเก็บฟองหน้าน้ำบ่อปลาและตู้ปลา
B. ดึงน้ำเข้าบ่อกรองจากสะดือบ่อ
C. บ่อพักน้ำ
D. ตาข่ายไนล่อน
E. เศษปะการัง
F. แผ่นกรอง
G.ท่อน้ำกลับบ่อปลา