หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า เมือกต่างๆ ที่เกาะตามแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอ่างน้ำ หรือแม้กระทั่งถ้วยชาม ภาชนะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่จริงเจ้าเมือกตัวปัญหานั้นคือ ไบโอฟิล์ม (Biofilm)
ไบโอฟิล์ม(Biofilm) คือ ไบโอฟิล์มเป็นการรวมกลุ่มกันของจุลชีพที่เริ่มจากการเกาะติดบนพื้นผิวที่มีความชื้นสูงหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีของเหลวล้อมรอบโดยจุลชีพเหล่านี้ร่วมกันผลิตพอลิเมอร์ที่มีลักษณะเป็นเมทริกซ์ประกอบด้วยสารคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทำหน้าที่เป็นโล่ป้องกันสมาชิกที่อยู่ภายในโครงสร้าง ทั้งนี้สภาพภายในโครงสร้าง รวมทั้งการเจริญและเพิ่มจำนวน มีความแตกต่างจากจุลชีพชนิดเดียวกันที่อยู่ในสภาวะเซลล์เดี่ยว ลักษณะรูปร่างของไบโอฟิล์มมีความแตกต่างกันตามชนิดของจุลชีพ และสภาพแวดล้อมเป็นหลัก
วงจรชีวิตของ ไบโอฟิล์ม
เจ้าปัญหาคือ ไบโอฟิล์ม (Biofilm) จริงหรอ?
เมือก หรือ EPS (Extracellular Polymeric Substances) จะช่วยให้จุลินทรีย์เกาะกับพื้นผิวได้ดีขึ้น ช่วยในการอุ้มน้ำป้องกันไม่เซลของจุลินทรีย์แห้ง ป้องกันเซลจากสารฆ่าเชื้อ ช่วยจับสารอาหารที่จุลินทรีย์ใช้ในการเจริญเติบโต ช่วยให้จุลินทรีย์มีความต้านทานและสามารถอยู่รอดได้ดีในสิ่งแวดล้อม เชื้อจุลินทรีย์ที่พบในไบโอฟิล์มมีทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัว บางชนิดมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ขณะที่บางชนิดก่อโรคได้ใน
ไบโอฟิล์มอยู่ตรงไหนบ้าง ?
เคยสงสัยกันใช่ไหมว่าไบโอฟิล์มอยู่ตรงไหนบ้าง จริงๆ แล้ว ไบโอฟิล์มจะเกาะอยู่ ตามบริเวณพื้นผิวที่เปียกและมีความชื้น เช่น ท่อน้ำ สระน้ำ แอร์ แก้วน้ำ ตามภาชนะที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ หรือแม้กระทั้งในปากของเราเอง
เราจะกำจัด ไบโอฟิล์ม ยังไง?
- การใช้แรงดัน การใช้คลื่นเสียง (Sonication)
- การใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 100 นาที หรือจะใช้ระบบหมุนเวียนน้ำที่มีอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส
- การใช้สารเคมีฆ่าเชื้อชนิด Oxidizing เช่น Chlorine, Ozone, Hydrogen Peroxide
- ใช้สารเคมีฆ่าเชื้อชนิด Non – Oxidizing เช่น Formaldehyde, Glutaraldehyde
แต่ทั้ง 4 รูปแบบ ไม่สามารถกำจัดได้ 100%
ดังนั้น การกำจัดไบโอฟิล์มจึง เป็นปัญหาที่พบเจอโดยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจุดที่เราไม่สามารถทำความสะอาดได้ เช่น ตามท่อน้ำต่างๆ ที่เราใช้ ดังนั้นการใช้ “คลอรีนไดออกไซด์” จึงเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหานี้เพราะงบประมาณค่าใช้จ่าย และเวลาในการกำจัดไบโอฟิล์ม มีจำกัด
คลอรีนไดออกไซด์ คืออะไร?
สารนี้จะฆ่าเชื้อโดยไม่ยึดที่ค่า pH ซึ่งจะออกฤทธิ์นานเข้มข้นและยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในสายท่อเป็นเวลานานหลายชั่วโมงถึงหลายวัน คลอรีนไดออกไซด์ ยังช่วยบำบัดระบบน้ำทั้งหมดเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียลีเจียนเน็ลล่าเนื่องจากจะสลายไบโอฟิลม์ในสายท่อและถังได้อย่างปลอดภัย
ฆ่าเชื้อโรค
เสถียร, ปลอดภัย, สะอาด
ฤทธิ์ฆ่าเชื้อของ คลอรีนไดออกไซด์ สามารถพัฒนาได้เต็มที่เนื่องจากไม่เกิดปฏิกิริยากับแอมโมเนียหรือแอมโมเนียม ในทางตรงกันข้าม อาจจะเกิดคลอรีนฟีนอลและสารประกอบกลิ่นรุนแรงชนิดอื่นขึ้นได้เมื่อเติมคลอรีนในน้ำ ซึ่งจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเมื่อใช้ คลอรีนไดออกไซด์ นอกจากนั้น ยังไม่เกิดไตรฮาโลมีเทน (THM) และไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีนอยู่ในโมเลกุลด้วย
เครดิต
ไบโอฟิล์ม: ผลกระทบต่อการสาธารณสุข , เขมาภรณ์ บุญบำรุง (วารสารเทคนิคการแพทย์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 2 สิงหาคม 2561)
คุยคำศัพท์ กับ FSSS : Biofilms (ไบโอฟิล์ม) ; Food Safety Support & Services – FSSS
https://www.prominent.co.th/th/
https://www.renalserve.com/
https://www.visittbo.com/